แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 งานช่าง เวลา
1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง
การพับน้องแมวน้อย
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงานทักษะการจัดการ
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
ทักษะการทำงานร่วมกันและทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม
และลักษณะนิสัยในการทำงานมีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด
มฐ.ง 1.1 ป.1/2 ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือง่าย ๆ
ในการทำงานอย่างปลอดภัย
มฐ.ง
1.1 ป.1/3
ทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองอย่างกระตือรือร้น และตรงเวลา
จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1. เรียงลำดับขั้นตอนการประดิษฐ์น้องแมวน้อย
(K)
2. นำขั้นตอนการประดิษฐ์ไปใช้งานได้จริง
(P)
3. ตระหนักถึงการนำเศษวัสดุกลับมาใช้
(A)
สาระสำคัญ
การทำของเล่นจากกระดาษเป็นงานที่นักเรียนสามารถทำได้ด้วยตัวเองและยังใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
สาระการเรียนรู้
1. ความรู้
ï การพับน้องแมวน้อย
2.
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
1. ทักษะการแสวงหาความรู้
2. กระบวนการคิด : การให้เหตุผล การสรุปความรู้ การจัดระบบความคิด
3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ (Active Learning)
1. ครูเล่านิทานเรื่อง ถ้วยชาเขียวหาย
ให้นักเรียนฟัง
|
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับนิทานเรื่อง
“ถ้วยชาเขียวหาย” โดยครูใช้คำถามดังนี้
ï ในนิทานเรื่องนี้มีแมวกี่ตัว ชื่ออะไรบ้าง
(ตัวอย่างคำตอบ
มี 4 ตัว ป้าเหมียว เหมียวซี่ เหมียวซ่า เหมียวโซ่)
ï แมวมีลักษณะอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ มีหนวด มีหู 2 หู)
ï นิทานเรื่องนี้สอนอะไร (ตัวอย่างคำตอบ สอนให้รู้จักแบ่งปัน)
ï
นักเรียนเคยพับแมวกระดาษหรือไม่ (ตัวอย่างคำตอบ
เคย / ไม่เคย)
3.
ครูและนักเรียนร่วมกันอ่านวัสดุอุปกรณ์และวิธีพับน้องแมวน้อย
4. ครูสาธิตวิธีการพับน้องแมวน้อยให้นักเรียนดู
แล้วให้นักเรียนแบ่งกลุ่มร่วมกันฝึกปฏิบัติตามทีละขั้นตอน โดยมีครูตรวจสอบความถูกต้องและให้คำแนะนำเพิ่มเติม
5. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการพับน้องแมวน้อย
จากนั้นครูบันทึกคำตอบลงในแผนภาพบนกระดาน ดังนี้
|
|||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ในการพับน้องแมวน้อย
ดังนี้ การประดิษฐ์ของเล่นด้วยตนเองเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และให้นักเรียนทำใบงาน
7. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
ï ถ้าแมวกระดาษที่นักเรียนพับคุยกับนักเรียนได้ นักเรียนคิดว่า แมวกระดาษจะคุยอะไรกับนักเรียน
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วม
(Cooperative)
-ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
ï ถ้าแมวกระดาษที่นักเรียนพับคุยกับนักเรียนได้
นักเรียนคิดว่าแมวกระดาษจะคุยอะไรกับนักเรียน
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ (Analysis)
-ให้นักเรียนวิเคราะห์และเข้าใจวิธีการพับแมวกระดาษ
ขั้นที่ 4 การสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)
-นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า การประดิษฐ์ของเล่นด้วยตนเองเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ขั้นที่ 5 การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ (Application)
-ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบว่า
นักเรียนจะนำความรู้เรื่องวิธีการพับแมวกระดาษ
ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
สื่อการเรียนรู้
1.
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้พับน้องแมวน้อย
2. ใบงาน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล
1.1 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.2 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
1.3 ตรวจใบงาน
2.
เครื่องมือ
2.1
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
2.2
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
3.
เกณฑ์การประเมิน
3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1
รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
3.2
การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน 9-10 ระดับ ดีมาก
คะแนน 7-8 ระดับ ดี
คะแนน 5-6 ระดับ พอใช้
คะแนน 0-4 ระดับ ควรปรับปรุง
ภาพกิจกรรมการประดิษฐ์การพับน้องแมวน้อย